0 0
Read Time:4 Minute, 49 Second

"ประเพณีสารทเดือนสิบ" นั้น เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งคล้ายกับวัตถุประสงค์ของวันสารทจีนนั่นเอง โดยวันสารทไทยจะตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี นอกจากจะเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีกับบรรพบุรุษแล้ว ยังเป็นการได้พบกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาในครอบครัว เพื่อมาทำบุญร่วมกันในวันสารทไทย นับว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทยเลยก็ว่าได้

“สารท” คืออะไร

คำว่า สารท (อ่านว่า สาด) เป็นคำสันสกฤต “ศารท” (อ่านว่า สา-ระ-ทะ) แปลว่า ใหม่ สิ่งที่เกิดจากการเพาะปลูกในฤดูร้อน หรือแปลว่าปีก็ได้ ซึ่งในประเทศที่มี 4 ฤดู เช่น อินเดียในตอนเหนือ ฤดูสารท จะหมายถึง ฤดูใบไม้ร่วง โดยฤดูใบไม้ผลิ จะเริ่มขึ้นเมื่อฤดูร้อนหมดไป โดยปกติแล้วพืชผลจะงอกงามเมื่อย่างเข้าสู่ปลายฤดู ชาวนาถึงถือโอกาสในการเก็บเกี่ยวพืชผลนี้ ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เช่น การทำกระยาสารท ซึ่งเป็นของกินที่ทำด้วยข้าวเม่า ข้าวตอก ถั่ว งา และน้ำตาลอ้อย การทำบุญในรูปแบบนี้ จึงเรียกว่า ทำบุญสารท หรือ “สารท” นั่นเอง

วันสารทไทย สำคัญอย่างไร

วันสารทไทย มีมานานตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามที่ปรากฎหลักฐานในหนังสือนางนพมาศ โดยสมัยนั้นศาสนาพราหมณ์ถูกเผยแพร่ในประเทศไทยแล้ว จึงรับประเพณีวันสารทมาด้วย ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราช ที่เชื่อว่าบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วนั้น หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมาน จึงต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้ทุกปี และในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เปรตจะถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาขอส่วนบุญจากญาติ และจะกลับไปนรกในวันแรม 15ค่ำ เดือน 10 จึงเป็นโอกาสดีที่ญาติจะนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศล และยังเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีอีกด้วย

วันสารทไทย ในแต่ละภูมิภาค

วันสารทไทย มีการทำบุญเหมือนกันทุกภูมิภาค แต่มีการเรียกชื่อ และพิธีกรรมที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย

ภาคกลาง เรียกว่า “สารทไทย”

เมื่อใกล้ถึงวันสารท ชาวบ้านจะรวมตัวกันเพื่อทำ “กระยาสารท” ไปใส่บาตร และแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน ในวันสารท ชาวบ้านจะเตรียมอาหารไปทำบุญกรวดน้ำที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศล และฟังธรรมเทศนา

ภาคเหนือ เรียกว่า “ตานก๋วยสลาก” หรือทานสลากภัต

นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตานสลาก กิ๋นข้าวสลาก กิ๋นก๋วยสลาก หรือกิ๋นสลาก โดยคำว่า "ก๋วย" แปลว่า ตะกร้า หรือชะลอม ส่วน "สลากภัต" หมายถึงอาหารที่ถวายพระตามสลาก นับเข้าเป็นเครื่องสังฆทาน

ก่อนจะถึงวันตานก๋วยสลาก 1 วัน จะเรียกว่า "วันดา" หรือวันสุกดิบ ชาวบ้านจะจัดเตรียมข้าวของ และอาหารสำหรับที่จะนำมาจัดดาใส่ก๋วยสลาก โดยก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1. ก๋วยน้อย สำหรับที่จะถวายทานไปให้กับผู้ที่ล่วงลับ ทั้งญาติ เพื่อนพ้อง หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เราเคยรัก และมีคุณต่อเราเมื่อครั้งยังมีชีวิต 2. ก๋วยใหญ่ จัดทำขึ้นใหญ่เป็นพิเศษ บรรจุข้าวของได้มากขึ้น ถวายเป็นมหากุศลสำหรับคนที่มีกำลังศรัทธา และฐานะดี เป็นปัจจัยที่นับว่าได้กุศลแรง

คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ภาคใต้ เรียกว่า “งานบุญเดือนสิบ” หรือประเพณีชิงเปรต

ชาวบ้านจะนำอาหารหวานคาว พร้อมขนมเดือนสิบไปทำบุญที่วัด พร้อมทั้งให้พระสงฆ์ได้บังสุกุลอัฐิส่งส่วนบุญส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และใส่บาตรอุทิศส่วนกุศลไปให้ หลังจากนั้น นำเครื่องเซ่นไหว้ตั้งที่ร้านเปรต (สถานที่ตั้งอาหารเป็นร้านสูงพอสมควร) เพื่อให้มากินเครื่องเซ่นไหว้ ต่อมา ชาวบ้านที่มาทำบุญ จะแย่งชิงสิ่งของที่ตั้งไว้ที่ร้านเปรต เพราะมีความเชื่อว่า ใครได้กินของ่เหลือจากที่เปรตกิน จะเป็นมงคลกับตัวเอง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำสืบต่อกันมานานตั้งแต่บรรพบุรุษเลยทีเดียว

ภาคอีสาน เรียกว่า “ทำบุญข้าวสาก”

ก่อนจะถึงวันทำบุญ ชาวบ้านจะเตรียมอาหารที่ห่อด้วยใบตอง โดยแบ่งเป็น 2 ห่อ ห่อแรก คือ หมาก พลู และบุหรี่ ห่อที่สอง คือ อาหารคาวหวาน ประกอบด้วย ข้าวเหนียว เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และของหวานคือ กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง แตงโม สับปะรด ฟักทอง พอถึงวันทำบุญข้าวสาก ในช่วงเช้าจะมีการนำอาหารไปถวายพระสงฆ์ก่อนหนึ่งครั้ง

หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลา 9-10 โมงเช้า พระสงฆ์จะตีกลอง ญาติโยมจึงนำอาหารมาถวาย โดยการถวายจะใช้วิธีจับสลากเมื่อชาวบ้านมาพร้อมกันแล้ว ผู้ที่เป็นหัวหน้าจะกล่าวนำคำถวายสลากภัต แล้วนำไปให้พระเณรจับสลากหากจับได้สลากของใคร ผู้เป็นเจ้าของสำรับกับข้าว และเครื่องปัจจัย ก็จะนำไปประเคนให้พระรูปนั้น ๆ จากนั้นจะเริ่มกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว

จะเห็นได้ว่า วันสารทไทย เป็นวันที่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศจะร่วมทำบุญให้แก่บรรพบุรุษ หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ถึงแม้จะมีชื่อเรียก และพิธีกรรมที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็มีวัตถุประสงค์เดียวกัน มากไปกว่านั้นนับว่าเป็นวันที่จะได้พบกับญาติพี่น้องที่ยังอยู่ มาทำบุญร่วมกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ธรรมะไทย, กินอยู่เป็น, สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์, สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 อุบลราชธานี

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin